เนื่องจากฐานรากเป็นส่วนสำคัญที่สุดของโครงสร้งอาคาร หากฐานรากชำรุดจนไม่สามารถรับน้ำหนักได้ตามที่คำนาณไว้ ความวิบัติของโครงสร้างส่วนอื่นๆ ก็จะเกิดตามมาอย่างรุนแรงและการซ่อมแซมฐานรากก็กระทำได้ยากและสิ้นเปลืองค่า ใช้จ่ายสูงมาก โดยทั่วไป เสาเข็มแบ่งออกได้เป็นหลายชนิด เช่น เสาเข็มไม้ เสาเข็มเหล็ก เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก และเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง เป็นต้น
ซึ่งทางกลุ่ม ๖ จะกล่าวถึง ปัญหาต่าง ๆ ของการตอกเสาเข็ม ดังต่อไปนี้
ขนาดความหนา และพื้นที่หน้าตัดของเสาเข็มไม่ถูกต้องตามข้อกำหนดและมาตรฐาน ซึ่งเกิดจากความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจของผู้ควบคุมงานอาจทำให้เสาเข็มชำรุด หรือหักขณะทำการตอกทำให้ต้องมีการตอกซ่อมแซมและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย
อายุของเสาเข็มและกำลังของคอนกรีตไม่ได้ตามมาตรฐานเนื่องจากเร่งดำเนินการ ตอกเพื่อเบิกงวดงานของผู้รับเหมาทำให้การรับน้ำหนักของเสาเข็มไม่เป็นไปตาม ที่ออกแบบไว้ทำให้เกิดความเสียหายภายหลังการตอก
การขนส่งเสาเข็มจากโรงงานถึงสถานที่ก่อสร้างต้องทำด้วยความระมัดระวังให้ดี โดยการใช้รอก มิฉะนั้นอาจหักหรือร้าวได้ทำให้เสียเวลาในการสั่งทำเสาเข็มใหม่และเวลาในการ รอเสาเข็ม
อุปกรณ์ในการตอกเสาเข็มไม่อยู่ในสภาพเรียบร้อย เช่น ตะเกียบคด, เสาส่งชำรุด หรือน้ำหนักตุ้มไม่เหมาะสมกับขนาดของเสาเข็มอาจทำให้เสาเข็มชำรุดได้
ตำแหน่งของจุดที่จะตอกเข็มไม่ถูกต้องตามแบบเนื่องจากความบกพร่องของผู้รับ เหมาที่ไม่ได้ใช้กล้อวัดแนวของเสาเข็มก่อนที่ทำการตอกเสาเข็ม ผู้ควบคุมงานขาดการควบคุมที่ใกล้ชิดหรือขาดความรู้ความชำนาญ ซึ่งทำให้เกิดความวิบัติของอาคารได้ ซึ่งก่อนการลงมือตอกเสาเข็มจะต้องตรวจสอบตำแหน่งของจุดที่จะตอกให้ถูกต้อง และหลังการตอกเสร็จแล้ว ก็ต้องตรวจสอบอีกครั้งว่าผิดจากตำแหน่งเดิมหรือไม่ หากผิดเกินค่าที่ยอมให้ต้องรีบรายงานวิศวกรหรือผู้ควบคุมงานทราบทันทีเพื่อ หาทางแก้ไขต่อไป
พื้นที่ ที่ทำการตอกเสาเข็ม ฝนตกตลอดเวลา น้ำจึงขังในพื้นที่ที่ทำการตอกเข็ม ทำให้ไม่สามารถหาตำแหน่งของเสาเข็มได้ ควรจะขุดหลุมข้าง ๆ พื้นที่ตอกเข็มให้น้ำระบายมายังหลุม เพื่อใช้ไดโว่สูบน้ำทิ้ง และขุดคูรอบ ๆ บริเวณที่จะตอกเสาเข็มซึ่งป้องกันการสั่นสะเทือนระดับบนและป้องกันการ เคลื่อนตัวของดินไปยังอาคารข้างเคียงได้พอสมควร ขณะทำการตอกเสาเข็ม หัวเสาเข็มแตกก่อนที่จะทำการตอกเสร็จ ทางแก้ที่ควรทำคือใช้แผ่นตัดคอนกรีตความเร็วสูงตัดโดยรอบที่จุดสิ้นสุดรอย แตกร้าวของหัวเสาเข็ม แต่งหัวเสาเข็มให้เรียบร้อยแล้วตอกต่อให้แล้วเสร็จ ขณะตอกเสาเข็ม เสาเข็มเอียงออกจากศูนย์และมุมเอียงเกินกว่าที่กำหนด อาจถือว่าเป็นเสาเข็มเสียให้ทำการตอกซ่อมแซม ถ้าพื้นที่ที่ทำการตอกเสาเข็มอยู่ใกล้อาคารใกล้เคียงมากซึ่งทำให้เกิดการ ชำรุดหรือรอยร้าวได้และเป็นการรบกวนผู้ที่อาศัยอยู่ใกล้เคียง ดังนั้นจึงควรตรวจสอบสภาพอาคารข้างเคียงให้ละเอียดว่าอยู่ในสภาพดีหรือมีการ ชำรุดอยู่แล้ว หากพบว่ามีการชำรุดควรบันทึกรายละเอียด พร้อมด้วยภาพถ่ายโดยมีพยานรู้เห็นที่เชื่อถือได้เช่น เจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือถ้าทำให้เกิดผลกระทบตามมาอย่างมากควรปรึกษาผู้ควบคุมงาน เพื่อแก้ไขแบบเป็นระบบเสาเข็มชนิดอื่น เช่น เสาเข็มชนิดเจาะหล่อในที่ พื้นที่ที่ทำการก่อสร้างไม่สามารถตอกเข็มลงได้เมื่อใช้เสาเข็มที่ออกแบบมา ทางแก้คือใช้วิธี Water Jetting หรือ ต้องเจาะดินออกไปบ้างพอสมควรก่อนที่จะตอกเสาเข็ม ( Pre-bored) แล้วตรวจสอบ Blow counts ตามเกณฑ์ที่กำหนด ขณะทำการตอก ค่า Blow counts ลดลงอย่างกระทันหัน เช่น จาก 50 ลดลงเหลือ 30ครั้ง / ฟุต แสดงว่าเกิดจากเสาเข็มหักต้องทำการตอกเสาเข็มซ่อมแซม หรือเสาเข็มทะลุชั้นดินแข็งบาง ๆ ลงไปถึงชั้นดินอ่อน ให้อ่านค่า Blow counts ตามปกติ ดังที่กล่าวมาว่าฐานรากเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของโครงสร้างอาคารดังนั้น ผู้ควบคุมงาน หรือวิศวกรที่รับผิดชอบต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษเกี่ยวกับงานฐานรากและงานเสา เข็มเพื่อลดปัญหาต่างๆ ของการตอกเสาเข็ม ลดเวลา และค่าใช้จ่ายได้อย่างมาก และให้งานฐานรากเป็นไปตามที่วิศวกรได้ออกแบบมากที่สุด และควรทำการทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็มและการทดสอบการบรรทุกน้ำหนักของเสา เข็มต้นที่มีปัญหา หรือสงสัยว่าหัก หรือเสาเข็มที่เอียงกว่ากำหนดเพื่อให้ได้งานเสาเข็มที่เป็นไปตามแบบและข้อ กำหนด |