วันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

การใช้น้ำยากันซึมในการผสมคอนกรีต

การใช้น้ำยากันซึมในการผสมคอนกรีต

มักจะมีการถามถึงการป้องกันการรั่วซึมของพื้นคอนกรีตดาดฟ้าอยู่เสมอ วิธีการหนึ่งที่นิยมใช้ก็คือ การใส่น้ำยากันซึมผสม
ในคอนกรีตที่ใช้งานด้วย จากประสบการณ์ของผมเองในแวดวงของงานก่อสร้างบ้านพักอาศัย มักจะเห็นว่าผู้รับเหมาก่อสร้าง
หรือแม้แต่ผู้ควบคุมงานก่อสร้างนั้น ยังขาดความเข้าใจในการใช้น้ำยากันซึมอยู่มาก โดยส่วนใหญ่มักจะคิดว่า การใส่น้ำยากันซึม
เข้าไปในส่วนผสมคอนกรีตนั้น คือน้ำยาวิเศษที่ช่วยให้คอนกรีต มีความสามารถกันน้ำได้ แล้วก็มีการใช้กันอย่างผิดๆซะเป็นส่วน
ใหญ่ ก็เลยคิดว่าข้อความในกระทู้นี้คงจะเป็น ประโยชน์บ้างกับเพื่อนๆที่จะใช้น้ำยากันซึมในการผสมคอนกรีต ความสามารถ
กันน้ำของคอนกรีตนั้นจะเพิ่มขึ้นตามค่ากำลังหรือความแข็งแรงของคอนกรีต ซึ่งโดยปกติแล้ว คอนกรีตที่ใช้ในงานก่อสร้าง
ทั่วไป(ค่ากำลังอัดทรงกระบอกที่อายุ 28 วัน มากกว่า 210 กก/ตร.ซม.ขึ้นไป) ถ้ามีเนื้อคอนกรีตสม่ำเสมอที่ดี ก็จะมีความสามารถ
ป้องกันการซึมของน้ำได้ในระดับหนึ่งอยู่แล้ว แต่ถ้าต้องการให้คอนกรีตมีความสามารถในการกันน้ำมากขึ้น เช่นพื้นห้องน้ำหรือ
พื้นดาดฟ้า ก็จะต้องใช้คอนกรีต ที่มีกำลังสูงขึ้น

ซึ่งค่ากำลังของคอนกรีตนั้น จะขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำในส่วนผสมคอนกรีต ซึ่งจะเป็นสัดส่วนกับปูนซีเมนต์ ที่เรียกว่าค่า
water cement ratio (w/c) เช่นปูนซีเมนต์ 1 ถุง น้ำหนัก 50 กก. ถ้าใส่น้ำ 25 กก.จะได้ค่าw/c=50/25=0.5

ซึ่งคอนกรีตที่มีความสามารถกันน้ำได้ดีควรจะมีค่า w/c ต่ำกว่า 0.4 หมายถึงว่าผสมคอนกรีตโดยใช้ปูน 1 ถุงจะใส่น้ำได้
20 กก. ถ้าผสมโดยใช้ส่วนผสมเช่นนี้ได้ก็ไม่น่าจะมีปัญหา แต่มักจะพบว่าถ้าทำการผสมคอนกรีตโดยใช้ปริมาณน้ำดังกล่าว เมื่อ
ใส่ทราย และหินลงไปแล้ว คอนกรีตจะค่อนข้างข้นซึ่งจะนำไปใช้งานหรือเทลงในแบบได้ยาก ซึ่งจะเรียกว่ามีความสามารถ
เทได้(workability) ต่ำ ค่าดังกล่าวนี้นิยมวัดที่ค่าการยุบตัวของคอนกรีตที่เรียกกันว่าslump จะขอข้ามในรายละเอียด
ไปเพราะจะทำให้ยืดยาว แต่เอาเป็นว่า ถ้าคอนกรีตเหลวมาก ก็จะมีค่าslumpมากจะทำงานได้ง่าย แต่ถ้าจะให้คอนกรีตเหลว
เพิ่มขึ้น ก็ต้องใส่น้ำเพิ่มขึ้น ถ้าน้ำมากขึ้น ค่า w/c ก็จะเพิ่มขึ้น กำลังคอนกรีตก็จะลดลง ดังนั้น น้ำยากันซึมก็จะเข้ามามีบทบาท
ตรงนี้คือ ทำให้คอนกรีตเหลวขึ้นโดยไม่ต้องเพิ่มน้ำ แต่ใช้การลดปริมาณน้ำลง แล้วเพิ่มน้ำยากันซึมเข้าไปแทน ซึ่งแท้ที่จริง
แล้วน้ำยากันซึมก็คือ สารลดน้ำ ในส่วนผสมคอนกรีตนั่นเอง ซึ่งในการใช้งาน ถ้าใส่น้ำยากันซึมในส่วนผสมโดยไม่ลดปริมาณ
น้ำให้ได้ค่า w/c ที่ต่ำ แล้วใส่น้ำยาลงไปก็ไม่ช่วยให้กำลังสูงขึ้น เพียงแต่จะช่วยให้คอนกรีตเหลวขึ้นเท่านั้น การใช้งานที่ไม่ถูกต้อง
นั้นมักจะพบว่า ไม่ทำการศึกษารายละเอียดปริมาณการใช้งานให้ถูกต้องเสียก่อน ส่วนใหญ่ผลิตภัณฑ์ ที่มีคุณภาพจะระบุปริมาณ
น้ำและน้ำยาในส่วนผสมมาให้ด้วย ซึ่งการผสมจะต้องผสมในน้ำก่อนที่จะนำไปผสมในคอนกรีต ถ้าหากใส่ลงไปภายหลัง
จากผสมคอนกรีตแล้ว และน้ำยาไม่กระจายตัวดีแล้วก็จะทำให้คอนกรีตไม่แข็งตัว

สรุปสั้นตรงนี้ก็คือ ถ้าผสมคอนกรีตให้มีค่า w/c ต่ำกว่า0.4และนำไปใช้งานได้แล้ว คอนกรีตก็จะมีความสามารถกันน้ำได้ดี
แต่ถ้าคอนกรีตแห้งไปให้เพิ่มน้ำยากันซึมเข้าไปในส่วนผสมแทนการเพิ่มปริมาณน้ำในส่วนผสมคอนกรีต แต่อย่างไรก็ตาม การ
ใช้คอนกรีตที่มีค่า w/c ต่ำจะมีการบ่มที่ดีด้วย เนื่องจากมักจะแตกร้าวได้ง่ายเนื่องจากการใช้ปริมาณ ของปูนซีเมนต์ที่ค่อนข้างมาก
ถ้าจะกล่าวถึงอีกก็จะค่อนข้างยาวและเกี่ยวพันประเด็นอื่นอีก หวังว่ากระทู้นี้คงจะเป็นประโยชน์บ้างกับผู้ที่ยังคงคิดว่า น้ำยากันซึม
เป็นน้ำยาวิเศษที่ทำให้คอนกรีตป้องกันน้ำได้ แต่แท้ที่จริงแล้ว ถ้าใช้งานไม่ถูกต้องก็เป็นการสิ้นเปลืองเงินค่าน้ำยาโดยใช้เหตุ แถม
คอนกรีตยังกันน้ำซึมไม่ได้อีกด้วย

เนื้อหาจาก webboard ASA โดยคุณ CM
๑. น้ำยากันซึมไม่ได้ทำหน้าที่ "อุดรู" เพื่อไม่ให้น้ำซึมผ่านคอนกรีต
๒. น้ำยากันซึมทำหน้าที่ให้ "คอนกรีตเหลวตัว" เพื่อให้คอนกรีตแน่ตัวจนมีรูโพรงในคอนกรีตน้อยลง
๓. น้ำยากันซึมต้อง "ผสมกับน้ำก่อน" แล้วจึงเอาน้ำนั้นไปผสมคอนกรีต
๔. ถ้าใส่น้ำยากันซึมไปตอนโม่คอนกรีตที่ผสมน้ำแล้ว "น้ำยากันซึมจะไม่กระจายตัว" ไปทั่วมวลคอนกรีต
๕. ถ้าน้ำยากันซึม "อยู่เป็นจุดๆในคอนกรีตจะทำให้คอนกรีตตรงนั้นเป็นปัญหา" คอนกรีตตรงนั้นจะไม่แข็งตัว
๖. ถ้าผมสน้ำยากันซึมมากเกินไปแม้จะถูกวิธีก็จะทำให้ "คอนกรีตไม่แข็งตัว" จะเสื่อมสภาพ
๗. การใช้น้ำยากันซึมต้องอ่าน spec การใช้ก่อนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง "อัตราส่วนน้ำต่อคอนกรีต" ว่าเป็นเท่าไร

บทสรุปจากคุณ ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์
จาก http://www.thaihomemaster.com/showinformation.php?TYPE=12&ID=287

ไม่มีความคิดเห็น: