วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2552

วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

12 วิธีเป็นนักจัดซื้อที่ดี

12 วิธีเป็นนักจัดซื้อที่ดี

บทความดี ๆๆๆ จาก
http://boysudlor.exteen.com/20090713/entry
จึงขอคัดมา

คุณสมบัติของนักจัดซื้อที่ดีพึงมี

1. ซื่อสัตย์และโปร่งใส

ข้อนี้ยกให้เป็นสิ่งที่สำคัญอันดับแรก อย่างที่เราเคยได้ยิน และสงสัยมาเป็นประจำ

จากข่าวที่อ่านตามหนังสือพิมพ์ โครงการของรัฐ การประมูลงานต่างๆ

ทัศนคติที่คนส่วนใหญ่มองมาที่ฝ่ายจัดซื้อ สงสัยก่อนเลยอันดับแรก คือ

โกงรึเปล่าวะ ,งานนี้มีคอรัปชั่น ใต้โต๊ะรึเปล่า

ดังนั้น นักจัดซื้อที่ดี ต้องมีจิตสำนึกของความซื่อสัตย์

และทำงานทุกอย่างด้วยความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้

ยิ่งถ้าเป็นหน่วยงานของรัฐ ความรอบคอบรัดกุมก็เพิ่มมากขึ้นตาม

เพราะเงินที่ใช้จัดซื้ออุปกรณ์ ส่วนหนึ่งมาจากเงินภาษีของประชาชน งบประมาณแผ่นดิน

ถึงแม้เป็นองค์กรเอกชน เงินที่ใช้จัดซื้อก็เป็นค่าใช้จ่ายขององค์กร

ดังนั้น ฝ่ายจัดซื้อ จึงเป็นหน่วยงานสำคัญที่กุมสภาพความอยู่รอด

ผลประกอบการขององค์กรไว้ด้วย ยิ่งเป็นช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจไม่ดี

การลดต้นทุนเป็นสิ่งที่ถูกนำมาพิจารณาเสมอ

2.รู้จักวางแผน

จริงๆแล้ว ก็ทุกอาชีพนะครับ การวางแผนช่วยให้เราเตรียมตัวป้องกัน

สิ่งผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และช่วยเราให้ประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่าย

และประหยัดเวลาได้อย่างมาก

ลองนึกถึงตอนเราไปเที่ยวสิครับ ถ้าหากเราไปเที่ยวในช่วงเทศกาลวันหยุด

ที่คนเที่ยวเยอะๆ โดยที่ไม่ได้จองที่พัก ไม่จองรถไว้ก่อน

ก็อาจจะเสียค่าใช้จ่ายมากเกินความจำเป็นและเสียเวลามากขึ้น

(เว้นเสียแต่ว่า อยากจะเที่ยวแบบชิล ไปเรื่อยๆ เหนื่อยก็พัก

ไม่มีเวลาเป็นตัวเร่งรีบนะครับ)

การวางแผนในการจัดซื้อช่วยให้เรา ซื้อของในปริมาณที่พอเหมาะ

(ไม่ซื้อมาเก็บไว้มากจนเกินพอดี) และได้ราคาที่เหมาะสม

เช่น ถ้าคาดการณ์ได้ว่าอีก 2 วัน น้ำมันจะลดราคา

วันนี้เราก็อย่าเพิ่งเติม หรือเติมน้ำมันแต่พอดี เป็นต้น

3.บริหารเวลาเป็น

งานจัดซื้อทุกอย่างมีกำหนดระยะเวลามาเป็นเงื่อนไข กำหนดกรอบการทำงานของเรา

ถ้าข้อ 2 เป็นเหมือนทฤษฎี ข้อนี้ก้อคือ วิธีปฏิบัติ

เมื่อเราวางแผนการทำงานของเราไว้ จากนั้นก็เป็นการบริหารเวลาให้ดี

เพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้

สิ่งที่สำคัญหลักๆ ของงานจัดซื้อก็คือ

ซื้อสินค้าให้ได้คุณภาพ ถูกต้อง โปร่งใส ตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้งาน

ด้วยการใช้ต้นทุนในการจัดซื้อที่เหมาะสม(ราคาถูก) และจัดซื้อได้ทัน

ตรงตามระยะเวลาที่กำหนด(ทันเวลา)

จะเห็นว่า ปัจจัยบางอย่างไม่สอดคล้องกัน เช่น

การจัดซื้อต้องการความถูกต้องโปร่งใส ตรวจสอบอย่างรอบคอบ

อาจทำให้การส่งมอบสินค้าล่าช้ากว่าที่กำหนดไว้ได้ นอกจากนี้

การจัดการตารางเวลาในการทำงาน ทำให้เราสามารถแบ่งเวลาสำหรับการพักผ่อน

และทำอะไรอื่นๆที่เราชื่นชอบได้อีกแยะเลยครับ

4.จัดลำดับความสำคัญของงาน

หลายครั้งที่งานมักจะไหลเข้ามาประดังประเดพร้อมกัน

โดยแทบไม่ทันตั้งหลัก-เว้นวรรคหายใจ ดังนั้นเราจึงควรจัดลำดับ

ความสำคัญของงาน อันไหนควรทำก่อน อันไหนควรทำทีหลัง

บางทีหัวหน้าเร่งงานเราเรื่องนึง แต่เราก็กำลังให้ความสำคัญ

กับงานอีกเรื่องนึงอยู่ก็ได้

งาน 1

เร่งด่วนน้อยสำคัญน้อย

งาน 2

เร่งด่วนมากสำคัญน้อย

งาน 3

เร่งด่วนน้อยสำคัญมาก

งาน 4

เร่งด่วนมากสำคัญมาก

จากตาราง เราควรทำ งานที่ 4 ก่อนอื่นเลยนะครับ

ตามด้วย งานที่ 2 ,

งานที่ 3 ไม่เร่งด่วน แต่สำคัญมาก ควรใช้เวลาทำอย่างละเอียดและรอบคอบมากๆ

งานที่ 1 เอาไว้หลังสุด

5. มีทัศนคติที่ดีต่องาน หรือ ทำใจให้รักงาน

คนทำงานหลายคนเบื่องาน ไม่พอใจงาน อยากเปลี่ยนงาน (บางครั้งผมก็ด้วยเหมือนกัน)

ถ้าเราถือคติว่าการทำงานประจำ ก็คือ งานอดิเรกอย่างหนึ่ง ที่เราชื่นชอบ

รักกับมัน เราก็จะสนุกกับมันได้ เพราะเราต้องอยู่กับมันไปอีกนาน

( หมายเหตุ ข้อนี้ ถ้าหากบางคนไม่สามารถทำใจยอมรับกับงานที่ทำอยู่ได้

แต่ยังมีความจำเป็นที่จะต้องอยู่กับงานนั้นต่อ โดยไม่สามารถเปลี่ยนงานได้ทันทีในตอนนี้

ก็ขอให้ข้ามไปอ่านข้อ 12 ก่อนนะครับ)

6. มีความอดทนสูง ต่อแรงกดดันจากรอบข้าง

งานจัดซื้อนอกจากต้องแข่งกับเวลาแล้ว ยังต้องติดต่อประสานงา

เอ๊ย ไม่ใช่ ประสานงานกับหน่วยงานอื่นๆอีกมาก เช่น ผู้ใช้งาน ผู้ใช้ของ

เจ้าหน้าที่ตรวจรับสินค้า ผู้บริหารอนุมัติการซื้อการจ้าง ผู้ดูแลงบประมาณ

ฝ่ายกฎหมาย ผู้ขายวัตถุดิบ (Supplier) และอื่นๆ อีกมาก

ของที่สั่งไว้ เมื่อไหร่ซื้อให้ได้

ซื้อของอะไรมา คุณภาพโคตรห่วยเลย

ซื้อของแพงไปรึเปล่า และอื่นๆอีกมาก

หลายครั้งที่มีการร้องเรียน จากหลายด้าน ทั้งจากภายใน ภายนอก รวมทั้งผู้มีอำนาจบริหาร

ความอึดและอดทนต่อแรงกดดัน เสียงวิจารณ์รอบข้าง สำคัญต่อจิตใจและร่างกายมากๆ

สู้ๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

7. หมั่นศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเสมอ

ข้อมูล ความรู้ใหม่ๆ เกิดขึ้นทุกวัน วิธีการแก้ปัญหาต่างๆ ก็มาจากการขวนขวาย

หาสิ่งใหม่ๆ และก็อย่าลืมแบ่งปันความรู้ให้กับคนรอบข้าง เพื่อนร่วมงานด้วย

อย่างเช่น การจัดซื้อเดี๋ยวนี้ก็มีหลายวิธีการ เช่นการประมูลงานทางอิเล็กทรอนิกส์(E-Auction)

หรือ การสรรหาแหล่งวัตถุดิบใหม่ๆ เทคโนโลยีในการผลิตใหม่ ช่วยให้เราหูตาสว่างขึ้น

ทั้งนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นความรู้เฉพาะด้านจัดซื้อเพียงอย่างเดียว

ข่าวความเป็นไปในสังคม ข่าวเศรษฐกิจก็สำคัญต่อการวางแผนและ

การพยากรณ์เพื่อตัดสินใจซื้อ เช่น ตรวจสอบอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างปะเทศ

ราคาทองแดงในท้องตลาดโลก , Google นี่ล่ะครับ เครื่องมือค้นหาที่สำคัญ

8. ข้อมูลแน่น

อย่างที่บอก การทำงานต้องประสานงานกับผู้คนจากหลายหน่วยงาน

ต้องเผชิญแรงกดดันสูง สิ่งที่จะทำให้เราเอาตัวรอด ผ่านมันไปได้อย่างดี

สิ่งหนึ่งคือ ข้อมูล อ่านเยอะๆ ค้นคว้ามากๆ ถ้าเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับงานโดยตรง

ก็ต้องทำประวัติราคา ความเคลื่อนไหวของสินค้า

เก็บข้อมูล สถิติของลูกค้า ผู้ติดต่อไว้ให้ได้มากเท่าที่จะมากที่สุด

Program MS-Office ทั้งหลายนี่ละครับ มีประโยชน์มากๆ

และมีอะไรให้เราได้เรียนรู้ใช้งานอีกแยะ

9. มนุษย์สัมพันธ์ดีเยี่ยม

หลายๆครั้ง การแก้ปัญหาต่างๆ ด้วยวิธีการทางเทคนิค หรือวิชาการ

กลับไม่ได้ผลดีเท่ากับความสัมพันธ์ที่มีต่อกัน งานของฝ่ายจัดซื้อก็จำเป็น

ต้องรักษาความสัมพันธ์ที่ดีต่อทุกๆฝ่ายที่ได้ร่วมงานกัน

เพราะเรายังต้องติดต่อร่วมมือกันไปอีกนาน (ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ลาออกไปซะก่อนนะ)

นอกจากนี้การขอข้อมูล หรือขอความร่วมมือจากหน่วยงานอื่นก็จะเป็นไปอย่างสะดวกราบรื่น

10. เรียนรู้เทคนิคในการเจรจาต่อรอง

การเจรจาต่อรองราคาสำคัญมากสำหรับนักจัดซื้อ ซึ่งเรื่องนี้ถ้าจะเขียนให้ละเอียด

คงต้องเก็บไว้เขียนได้อีกหนึ่งเอนทรี่เลย หลักๆของการต่อรอง ก็คือ คำนึงถึงผลประโยชน์

ที่ทุกฝ่ายจะได้รับอย่างเป็นธรรม หรือการเจรจาแบบได้ทั้งคู่ (Win-Win Negotiation)

สิ่งที่ผมได้จากการทำงานด้านจัดซื้อก็คือ เราสามารถเอากลยุทธ์การต่อรองราคา

ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

11. รอบคอบ

เพราะว่างานจัดซื้อเกี่ยวข้องกับการใช้เงินงบประมาณขององค์กร

(ซึ่งไม่ใช่เงินในกระเป๋าของเราเอง) ดังนั้น ก่อนจะเสร็จงานแต่ละเรื่อง

ต้องอ่านให้ละเอียด ตรวจสอบให้รอบคอบ ถ้าไม่แน่ใจ ก้อวานให้คนอื่น

(หัวหน้าที่เกี่ยวข้อง)ช่วยตรวจสอบบ้างก็ได้ แบ่งๆกันรับผิดชอบ ช่วยกัน

บางที ตัวเลขผิดไปหนึ่งตัว ก็คือหนึ่งหลัก

ความผิดพลาดบางอย่าง อาจถูกมองไปในทางความไม่สุจริต ความไม่โปร่งใส ก็ได้

ดังนั้น รอบคอบ รอบคอบ รอบคอบ และรอบคอบครับ

12. เสียสละ

งานหลายๆอย่าง รวมทั้งงานด้านจัดซื้อ มีหลายคนไม่ชอบลักษณะงานแบบนี้ครับ

ถ้าได้คนที่มีใจรักงานด้านนี้มาทำ ก็ถือว่าเป็นความโชคดีขององค์กรที่สรรหามาได้

งานจัดซื้อเป็นงานที่เรียกว่า ปิดทองหลังพระเหมือนกัน

เรียกว่าอาจจะโดนตำหนิก่อนหน่วยงานอื่น เรื่องชื่นชมนานๆจะมาซักครั้ง

ถ้าหากเราไม่ได้มีใจรักงานนี้ แต่ต้องทนทำอยู่ บางทีลาออกก็ดีกว่า

แต่ถ้ายังทำอยู่ ยังไงก้อ ขอให้คิดว่า นี่คือ ..การเสียสละเพื่อส่วนรวม

หรือเพื่อองค์กร งานทุกงาน อาชีพทุกอาชีพ(ที่สุจริต)บนโลกนี้มีความสำคัญครับ

เพราะถ้าไม่สำคัญ อาชีพนั้นคงไม่เกิดขึ้น

การปิดทองหลังพระ ทำความดีโดยไม่ต้องบอกใคร มากเข้าๆ

สักวัน ทองนั้นก็จะล้นมาที่หน้าองค์พระเอง (นึกถึงกระแสพระราชดำรัสของ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่เกี่ยวกับการทำงานน่ะครับ นึกถึงทุกครั้งเลยเวลาท้อๆ)

สรุปว่า คิดแบบรู้จักให้ รู้จักเสียสละนะครับ จะทำให้เราทำงานได้อย่างสุขใจขึ้น

(ใครอ่านข้ามมาจากข้อ 5 โปรดกลับไปอ่านข้อ 6 ต่อนะครับ ขอบคุณครับ)

วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

เรียน วิศวะ ทาง web


เรียน วิศวะ ทาง web ที่นี้
http://nptel.iitm.ac.in/contactus.php


NPTEL Administrator,
Web Studio,
IC & SR Building III Floor,
IIT Madras
Chennai - 600036
Tel : (044) 2257 5905 ; (044) 2257 5908
Email : NPTEL@iitm.ac.in

วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

Lecture 1 - Prestressing System

หล่อพื้น hollow core

หล่อพื้น hollow core



การหล่อคอนกรีตอัดแรง

การหล่อคอนกรีตอัดแรง




คอนกรีตผสมสำเร็จ

การเตรียมคอนกรีต วัสดุที่ใช้ผสมคอนกรีต และคอนกรีตผสมสำเร็จ (Ready Mixed Concrete)

วัสดุที่ใช้ผสมคอนกรีต

1. ปูนซีเมนต์ ปูนซีเมนต์ที่ใช้ในงานก่อสร้างต้องเป็นปูนซีเมนต์ที่บรรจุถุงเรียบร้อยตาม มาตรฐาน ม.อ.ก. หรือเป็นปูนซีเมนต์ที่เก็บในภาชนะบรรจุของบริษัทผู้ผลิตห้ามใช้ปูนซีเมนต์ เสื่อมคุณภาพ เช่น ปูนซีเมนต์ซึ่งแข็งตัวจับกันเป็นก้อน เป็นต้น

2. มวลรวมละเอียด ส่วนมากจะเป็นทราย ทรายที่ใช้ผสมคอนกรีตจะต้องมีความละเอียดพอดี ๆ โดยมี Fineness Modulus ระหว่าง 2.3 และ 3.1 ถ้าน้อยกว่า 2.3 จะเข้าลักษณะทรายละเอียดต้องสะอาดไม่มีฝุ่นหรือขยะปะปนมากเกินไป

3. มวลรวมหยาบ ธรรมดาเราใช้ทั้งหินย่อยและกรวดเป็นมวลรวมหยาบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความยากง่ายในการหาวัสดุ ปกติวิศวกรจะระบุไว้ในข้อกำหนดว่าให้ใช้อย่างใด ผู้ควบคุมงานจะต้องคอยตรวจวัสดุที่ส่งเข้ามาอยู่เสมอเป็นประจำเพราะอาจไม่ ใช่วัสดุจากแหล่งเดียวกัน และอาจมีสิ่งแปลกปนได้ เช่น หินผุ หรือหินอื่นที่มีคุณภาพด้วยกว่าที่กำหนด

4. น้ำ ในข้อกำหนดต้องเป็นน้ำสะอาดสามารถใช้ดื่มได้ ซึ่งโดยมากมักหมายถึงน้ำประปา ในกรณีที่ไม่สามารถหาน้ำที่สะอาดได้ จำเป็นต้องใช้น้ำที่ขุ่นในการผสมคอนกรีต ต้องทำให้ใสก่อนจึงจะนำมาใช้ได้ โดยอาจใช้ปูนซีเมนต์ 1 ลิตร ต่อน้ำขุ่น 200 ลิตร ผสมทิ้งไว้ 5 นาที หรือจนตกตะกอนนอนก้นหมดแล้ว จึงตักเอาน้ำใสมาใช้ได้ แต่ทั้งนี้น้ำต้องผ่านการทดสอบคุณสมบัติอื่น ๆก่อนนำมาใช้

5. บางกรณีข้อกำหนดระบุไว้ให้ใช้สารผสมเพิ่มบางชนิด เช่น สารกันซึม สารกระจายกักฟองอากาศ สารหน่วง และสารเร่งการก่อตัว เป็นต้น ผู้ควบคุมงานจะต้องดูว่าสารผสมเพิ่มที่นำมาใช้จะต้องตรงกับชนิดที่ได้รับ อนุมัติจากวิศวกรผู้รับผิดชอบแล้ว

การผสมคอนกรีต ในโครงการก่อสร้างขนาดเล็ก อาจทำการผสมคอนกรีตในสถานที่ก่อสร้าง อาจผสมด้วยมือ หรือเครื่องผสมคอนกรีตก็ได้ ถ้าใช้เครื่องผสมคอนกรีต ที่มีความจุ 1 ลูกบาศก์เมตร หรือน้อยกว่า ต้องใช้เวลาผสมนานอย่างน้อย 1.5 นาที และให้เพิ่มระยะการผสม 15 วินาที ทุก ๆ ความจุที่เพิ่มขึ้น 0.5 ลูกบาศก์เมตร ใส่วัสดุผสมแห้งก่อนและทำการผสมวัสดุแห้ง จากนั้นจึงค่อยใส่น้ำประมาณร้อยละ 10 ลงไปในเครื่องผสม ส่วนวัสดุและน้ำที่เหลือค่อย ๆใส่อย่างสม่ำเสมอ และอีกร้อยละ 10 สุดท้ายค่อยเติมไปหลังจากใส่วัสดุผสมหมดแล้ว โดยที่เครื่องผสมต้องหมุนด้วยความเร็วสม่ำเสมอตามที่ผู้ผลิตกำหนดอัตราความ เร็ว การผสมคอนกรีตส่วนใหญ่ จะใช้นับบุ้งกี๋ ซึ่งทำให้ส่วนผสมคลาดเคลื่อนได้ ควรทำกะบะตวง หิน ทราย





คอนกรีตผสมสำเร็จ ( Ready Mixed Concrete )

สถาน ที่ก่อสร้างใดที่มีถนนดีพอที่รถบรรทุกเข้าถึงได้ ในการก่อสร้างก็มักจะใช้คอนกรีตผสมเสร็จ เพราะรวดเร็ว ต้องการเมื่อไรส่งได้ทันที สามารถควบคุมคุณภาพของส่วนผสมได้คงที่ แน่นอน ทำให้ได้คอนกรีตที่มีคุณภาพตามที่กำหนด ไม่ต้องเสียพื้นที่กองวัสดุ เช่น ปูนซีเมนต์ ทราย และหิน ตลอดจนแหล่งน้ำ นอกจากนั้นเปอร์เซ็นต์การสูญเสียคอนกรีตในระหว่างการผสมลำเลียง และเทย่อมลดน้อยลงด้วย ทั้งหน่วยงานก่อสร้างก็สะอาดไม่เลอะเทอะ

อย่าง ไรก็ดีผู้ควบคุมงานไม่ควรประมาทอย่าถือว่าเป็นคอนกรีตผสมเสร็จแล้วจะต้องดี เสมอไป เพราะหากผู้รับเหมาก่อสร้างขาดความรู้ทางด้านเทคโนโลยีคอนกรีต ก็อาจสั่งการผิด ๆ ได้ เช่น กรณีที่เกิดความล่าช้าในการขนส่ง เมื่อคอนกรีตมาถึงสถานที่ก่อสร้างปรากฏว่าน้ำระเหยไปมากจนคอนกรีตกระด้างคน งานอาจเทน้ำลงไปในโม่ผสมโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์อันจะเป็นเหตุให้คอนกรีตมี กำลังต่ำได้ในบางกรณีที่ต้องการเทคอนกรีตปริมาณมาก ๆ เช่น ฐานรากขนาดใหญ่ ซึ่งจำเป็นต้องใช้คอนกรีตจากโรงผสมหลาย ๆ โรง หากการสื่อสารหรือสื่อความหมายไม่ดี อาจเกิดความเข้าใจผิดขึ้นได้ มีกรณีตัวอย่างที่เกิดขึ้นคือ คอนกรีตที่ส่งมามีกำลังอัดสูงสุด (Crushing Strength) ต่าง ๆ กันทำให้เกิดความเสียหายอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าผู้ควบคุมงานไม่รอบคอบพอ ไม่ได้ตรวจสอบ ปล่อยให้เทคอนกรีตที่มีกำลังและคุณภาพต่างกันผสมกันลงไป จะทำให้เกิดข้อสงสัยในคุณภาพของคอนกรีตนั้น จะต้องมีการพิสูจน์ สุดท้ายอาจลงเอยที่ต้องทุบออกทั้งหมด ซึ่งเป็นการเสียเวลาและเงินทองเป็นจำนวนมาก ฉะนั้นในกรณีเช่นนี้ผู้ควบคุมงานต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ

คุณลักษณะเด่นของคอนกรีตผสมเสร็จ

1. วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตคอนกรีตมีคุณภาพตรงตามมาตรฐานงานก่อสร้างทั่วไป

2. การควบคุมสัดส่วนผสมของคอนกรีต ด้วยการชั่งน้ำหนักทำให้ได้ส่วนผสมคอนกรีตที่ถูกต้องแน่นอนและสม่ำเสมอ

3. โรงงานคอนกรีตผสมเสร็จได้รับการพัฒนาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอยู่เสมอ และสามารถผลิตคอนกรีตได้ตั้งแต่ 30 -150 ลบ.ม./ชั่งโมง สามารถช่วยให้งานเทคอนกรีตดำเนินไปได้อย่างรวดเร็ว และลดจำนวนคนงานที่ใช้ในการผสมคอนกรีตและเทคอนกรีตลงอย่างมาก

4. แก้ปัญหางานก่อสร้างที่มีบริเวณงานก่อสร้างจำกัด ไม่สามารถเก็บกองหิน ทราย หรือในงานก่อสร้างที่จะต้องเปลี่ยนสถานที่ที่เทคอนกรีตตลอดเวลา เช่น งานถนน งานคลองส่งน้ำ เป็นต้น

5. แก้ปัญหางานก่อสร้างที่ต้องการใช้คอนกรีตปริมาณครั้งละมาก ๆ หรืองานที่ต้องการใช้คอนกรีตเป็นระยะเวลาห่าง ๆ กันซึ่งไม่คุ้มกับการลงทุนซื้อวัสดุผสมมาเก็บไว้ใช้งานเอง

6. ในงานก่อสร้างที่อัตราเทคอนกรีตค่อนข้างช้าสามารถแก้ไขได้โดยการเติมน้ำยาผสมคอนกรีตที่มีคุณลักษณะยืดระยะเวลาการก่อตัวของคอนกรีต

7. โดยคอนกรีตผสมเสร็จจะมีราคาแพงกว่า คอนกรีตผสมเองอยู่บ้างเล็กน้อย แต่สามารถทดแทนด้วยคุณภาพของคอนกรีตที่ดีและสม่ำเสมอ และที่สำคัญคือประหยัดเวลาในการก่อสร้าง

8. เป็นหน้าที่ของผู้ผลิตคอนกรีตผสมเสร็จที่ต้องรับรองคุณภาพของคอนกรีตผสม เสร็จที่จัดส่งให้กับหน่วยงานก่อสร้างภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด เช่น กำลังอัดประลัย การยุบตัวเป็นต้น

ข้อแนะนำในการใช้คอนกรีตผสมเสร็จ

1. เพื่อให้ได้คอนกรีตที่สดเสมอ ระยะทางจากโรงงานก่อสร้างไม่ควรเกิน 15 กิโลเมตร

2. เพื่อให้รถคอนกรีตเข้าถึงหน่วยงานได้อย่างสะดวก ถนนเข้าหน่วยงานก่อสร้างต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 3 เมตร สายไฟ สายโทรศัพท์ หรือสิ่งกีดข้างอื่น ๆ ควรอยู่สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 4 เมตร

3. หากรถผสมคอนกรีตเข้าถึงบริเวณที่จะเทไม่ได้ ควรจัดกะบะขนาดความจุ 0.5-1.0 ลบ.ม. ไว้รองรับคอนกรีต

4. เพื่อให้การเทคอนกรีตทำได้อย่างประสิทธิภาพและต่อเนื่องหน่วยงานควรสั่ง คอนกรีตในปริมาณที่เหมาะสมกับวิธีการทำงานดังแสดงในตารางที่ 4.1

5. เพื่อให้ได้คอนกรีตที่มีคุณภาพควรใช้คอนกรีตให้หมดภายใน 1 ชั่วโมงหลังจากรถผสมคอนกรีตมาถึงหน่วยงาน

6. เพื่อความสะดวกในการจัดส่งคอนกรีตควรเขียนแผนที่แสดงตำแหน่งของหน่วยงานก่อ สร้างอย่างละเอียด ส่งให้โรงงานคอนกรีตผสมเสร็จก่อนการเริ่มการใช้งาน

ปริมาณคอนกรีตที่เหมาะสมกับวิธีการทำงาน

บทความโดย : ชมรมวิศวกรรมปักษ์ใต้

วันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การรับคนเข้าทำงาน

ศิลปะแห่งการรับคนเข้าทำงาน

1. จ้างคนที่เก่งกว่าตัวเอง
คนทั่วไปอาจจะพยายามจ้างคนที่ห่วยกว่าตัวเอง เพื่อเชิดชูความเหนือกว่า แต่คนเก่งนั้น จะจ้างคนที่เก่งเท่ากับหรือมากกว่าตัวเอง

2. จ้างคนที่หลงใหล
ถ้าพนักงานไม่ได้รัก หรือหลงใหลที่ผลงาน/ผลิตภัณฑ์ของคุณ เค้าก็มีดีแค่การศึกษากับประสบการณ์ทำงาน ซึ่งหาได้ทั่วไป

3. อย่าไปสนใจว่าคนละสาย
คนที่ทำงานข้ามสาย มักจะมุ่งมั่นกว่าคนที่เรียน/ทำงานมาตรงสาย

4. ตรวจสอบลางสังหรณ์กับแหล่งอื่น
คุณมักจะจำลางสังหรณ์ที่บังเอิญถูก แล้วคุณก็เชื่อมันในครั้งต่อๆไป จริงๆแล้วการถูกชะตานั้นอาจจะผิดก็ได้ ควรตรวจสอบหลายๆทาง

5. ตรวจสอบหลักฐานกับแหล่งอื่น
นอกจากเอกสารที่ผู้สมัครให้มาในการสมัครงานนั้น คุณได้ตรวจสอบที่อื่นจริงหรือเปล่า? แหล่งอ้างอิงที่เธอให้ ย่อมกล่าวแต่สิ่งที่ดีของเธอ

6. คิดว่า … ถ้าได้พบกันในห้างสรรพสินค้า … ?
ถ้าคุณได้พบผู้สมัครงานในห้างสรรพสินค้า คุณจะ (1) เข้าไปทักทาย (2) อยู่เฉยๆ ถ้าเจอก็ทัก (3) ขึ้นรถ ไปช้อปปิ้งที่อื่น … หากคุณไม่ได้เลือกข้อที่ 1 ก็อย่ารับคนนั้นเข้าทำงานเลย

7. ใช้อาวุธทั้งมวล
ถ้าคุณพบคนที่คิดว่าใช่ จงใช้อาวุธทั้งหมดที่มี เพื่อให้คนนั้นตัดสินใจทำงานกับคุณ แน่นอนว่า ไม่ใช่แค่เงินเดือน สวัสดิการ หุ้นส่วน ฯลฯ แต่เป็นแรงบันดาลใจที่คุณมีให้กับผู้ที่สนใจทำงานกับคุณ แรงบันดาลใจที่จะเปลี่ยนแปลงโลก หรือ สร้างสิ่งที่ยิ่งใหญ่

แน่นอนว่า รวมถึงการใช้อาวุธนั้น ทำลายโอกาสที่เธอจะตัดสินใจทำงานในบริษัทอื่นที่ใกล้เคียงกับคุณด้วย

8. กระจายไปยังทุกคนที่ตัดสินใจ
การตัดสินใจทำงานในที่ใดๆ มักไม่ได้เกิดขึ้นเพียงลำพัง คุณควรเกลี้ยกล่อม เพื่อน พี่ น้อง ครอบครัว ฯลฯ ของผู้มาสมัครด้วย ไม่ว่าโดยตรง หรือผ่านทางผู้สมัครงาน

9. เสนอค่าจ้างทีหลัง
บริษัทอเมริกันส่วนใหญ่จะเริ่มเจรจาโดยส่งจดหมายเสนอเงินเดือนขั้นต้น ซึ่งสำหรับบางคน อาจจะเป็นการดูถูก ดังนั้น คุณควรคุยเรื่องเงินเป็นเรื่องสุดท้ายสำหรับการรับคนเข้าทำงาน

10. อย่าเพิ่งคิดว่าจบ
เมื่อพนักงานเริ่มต้นทำงานกับคุณ อย่าคิดว่ากระบวนการได้เสร็จสิ้น เพราะเมื่อพวกเค้ากลับบ้านตอนกลางคืน คุณอาจจะไม่ได้เห็นพวกเค้าอีกก็ได้ หากคุณไม่สามารถทำให้ความมุ่งมั่น และ ควารักในงาน นั้นดำเนินต่อไป

ลอกข้อดีจาก

http://www.imenn.com/2006/02/the-art-of-recr/

วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ปัญหาการตอกเสาเข็ม

ปัญหาการตอกเสาเข็ม

เนื่องจากฐานรากเป็นส่วนสำคัญที่สุดของโครงสร้งอาคาร หากฐานรากชำรุดจนไม่สามารถรับน้ำหนักได้ตามที่คำนาณไว้ ความวิบัติของโครงสร้างส่วนอื่นๆ ก็จะเกิดตามมาอย่างรุนแรงและการซ่อมแซมฐานรากก็กระทำได้ยากและสิ้นเปลืองค่า ใช้จ่ายสูงมาก โดยทั่วไป เสาเข็มแบ่งออกได้เป็นหลายชนิด เช่น เสาเข็มไม้ เสาเข็มเหล็ก เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก และเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง เป็นต้น
ซึ่งทางกลุ่ม ๖ จะกล่าวถึง ปัญหาต่าง ๆ ของการตอกเสาเข็ม ดังต่อไปนี้
ขนาดความหนา และพื้นที่หน้าตัดของเสาเข็มไม่ถูกต้องตามข้อกำหนดและมาตรฐาน ซึ่งเกิดจากความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจของผู้ควบคุมงานอาจทำให้เสาเข็มชำรุด หรือหักขณะทำการตอกทำให้ต้องมีการตอกซ่อมแซมและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย
อายุของเสาเข็มและกำลังของคอนกรีตไม่ได้ตามมาตรฐานเนื่องจากเร่งดำเนินการ ตอกเพื่อเบิกงวดงานของผู้รับเหมาทำให้การรับน้ำหนักของเสาเข็มไม่เป็นไปตาม ที่ออกแบบไว้ทำให้เกิดความเสียหายภายหลังการตอก
การขนส่งเสาเข็มจากโรงงานถึงสถานที่ก่อสร้างต้องทำด้วยความระมัดระวังให้ดี โดยการใช้รอก มิฉะนั้นอาจหักหรือร้าวได้ทำให้เสียเวลาในการสั่งทำเสาเข็มใหม่และเวลาในการ รอเสาเข็ม
อุปกรณ์ในการตอกเสาเข็มไม่อยู่ในสภาพเรียบร้อย เช่น ตะเกียบคด, เสาส่งชำรุด หรือน้ำหนักตุ้มไม่เหมาะสมกับขนาดของเสาเข็มอาจทำให้เสาเข็มชำรุดได้
ตำแหน่งของจุดที่จะตอกเข็มไม่ถูกต้องตามแบบเนื่องจากความบกพร่องของผู้รับ เหมาที่ไม่ได้ใช้กล้อวัดแนวของเสาเข็มก่อนที่ทำการตอกเสาเข็ม ผู้ควบคุมงานขาดการควบคุมที่ใกล้ชิดหรือขาดความรู้ความชำนาญ ซึ่งทำให้เกิดความวิบัติของอาคารได้ ซึ่งก่อนการลงมือตอกเสาเข็มจะต้องตรวจสอบตำแหน่งของจุดที่จะตอกให้ถูกต้อง และหลังการตอกเสร็จแล้ว ก็ต้องตรวจสอบอีกครั้งว่าผิดจากตำแหน่งเดิมหรือไม่ หากผิดเกินค่าที่ยอมให้ต้องรีบรายงานวิศวกรหรือผู้ควบคุมงานทราบทันทีเพื่อ หาทางแก้ไขต่อไป
พื้นที่ ที่ทำการตอกเสาเข็ม ฝนตกตลอดเวลา น้ำจึงขังในพื้นที่ที่ทำการตอกเข็ม ทำให้ไม่สามารถหาตำแหน่งของเสาเข็มได้ ควรจะขุดหลุมข้าง ๆ พื้นที่ตอกเข็มให้น้ำระบายมายังหลุม เพื่อใช้ไดโว่สูบน้ำทิ้ง และขุดคูรอบ ๆ บริเวณที่จะตอกเสาเข็มซึ่งป้องกันการสั่นสะเทือนระดับบนและป้องกันการ เคลื่อนตัวของดินไปยังอาคารข้างเคียงได้พอสมควร
ขณะทำการตอกเสาเข็ม หัวเสาเข็มแตกก่อนที่จะทำการตอกเสร็จ ทางแก้ที่ควรทำคือใช้แผ่นตัดคอนกรีตความเร็วสูงตัดโดยรอบที่จุดสิ้นสุดรอย แตกร้าวของหัวเสาเข็ม แต่งหัวเสาเข็มให้เรียบร้อยแล้วตอกต่อให้แล้วเสร็จ
ขณะตอกเสาเข็ม เสาเข็มเอียงออกจากศูนย์และมุมเอียงเกินกว่าที่กำหนด อาจถือว่าเป็นเสาเข็มเสียให้ทำการตอกซ่อมแซม
ถ้าพื้นที่ที่ทำการตอกเสาเข็มอยู่ใกล้อาคารใกล้เคียงมากซึ่งทำให้เกิดการ ชำรุดหรือรอยร้าวได้และเป็นการรบกวนผู้ที่อาศัยอยู่ใกล้เคียง ดังนั้นจึงควรตรวจสอบสภาพอาคารข้างเคียงให้ละเอียดว่าอยู่ในสภาพดีหรือมีการ ชำรุดอยู่แล้ว หากพบว่ามีการชำรุดควรบันทึกรายละเอียด พร้อมด้วยภาพถ่ายโดยมีพยานรู้เห็นที่เชื่อถือได้เช่น เจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือถ้าทำให้เกิดผลกระทบตามมาอย่างมากควรปรึกษาผู้ควบคุมงาน เพื่อแก้ไขแบบเป็นระบบเสาเข็มชนิดอื่น เช่น เสาเข็มชนิดเจาะหล่อในที่
พื้นที่ที่ทำการก่อสร้างไม่สามารถตอกเข็มลงได้เมื่อใช้เสาเข็มที่ออกแบบมา ทางแก้คือใช้วิธี Water Jetting หรือ ต้องเจาะดินออกไปบ้างพอสมควรก่อนที่จะตอกเสาเข็ม

( Pre-bored) แล้วตรวจสอบ Blow counts ตามเกณฑ์ที่กำหนด
ขณะทำการตอก ค่า Blow counts ลดลงอย่างกระทันหัน เช่น จาก 50 ลดลงเหลือ 30ครั้ง / ฟุต แสดงว่าเกิดจากเสาเข็มหักต้องทำการตอกเสาเข็มซ่อมแซม หรือเสาเข็มทะลุชั้นดินแข็งบาง ๆ ลงไปถึงชั้นดินอ่อน ให้อ่านค่า Blow counts ตามปกติ

ดังที่กล่าวมาว่าฐานรากเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของโครงสร้างอาคารดังนั้น ผู้ควบคุมงาน หรือวิศวกรที่รับผิดชอบต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษเกี่ยวกับงานฐานรากและงานเสา เข็มเพื่อลดปัญหาต่างๆ ของการตอกเสาเข็ม ลดเวลา และค่าใช้จ่ายได้อย่างมาก และให้งานฐานรากเป็นไปตามที่วิศวกรได้ออกแบบมากที่สุด และควรทำการทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็มและการทดสอบการบรรทุกน้ำหนักของเสา เข็มต้นที่มีปัญหา หรือสงสัยว่าหัก หรือเสาเข็มที่เอียงกว่ากำหนดเพื่อให้ได้งานเสาเข็มที่เป็นไปตามแบบและข้อ กำหนด

วันเสาร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2552

วันอาทิตย์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ทีพีซี คอนกรีต






การหล่อคานคอนกรีตอัดแรง

การหล่อคานคอนกรีตอัดแรง






วิธีบริโภคผักให้ปลอดภัย

วิธีบริโภคผักให้ปลอดภัย
ผักเป็นอาหารที่สำคัญต่อร่างกาย ประกอบด้วยเซลลูโรสจำนวนมาก
ซึ่งมีประโยชน์ช่วยในการขับถ่ายทำให้ไม่เป็นโรคท้องผูก และที่สำคัญในผักมีวิตามินเอช่วยบำรุงสายตา วิตามินซี ช่วยบำรุงเหงือกและฟัน และสร้างภูมิต้านทานโรคให้กับร่างกาย

แต่ในปัจจุบันผู้บริโภคมักประสบปัญหาสารตกค้างในพืชผัก อันเนื่องมาจากการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชที่ไม่ถูกต้องไม่เหมาะสม และไม่ระมัดระวังของเกษตรกรผู้ผลิต ทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนผู้บริโภค ดังนั้นผู้บริโภคจึงควรพิจารณาเลือกซื้อผักที่ปลอดภัยจากสารพิษ เช่น ผักที่ได้รับรองจากหน่วยราชการ หรือองค์กรต่างๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีวิธีการที่ทำให้สารพิษตกค้างในผักลดน้อยลง เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้บริโภคด้วยวิธีการต่างๆ ก่อนนำประกอบอาหารรับประทาน ดังนี้

1. ลอกหรือปอกเปลือก แล้วแช่น้ำสะอาดนาน 5-10 นาที จากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 27-72

2. แช่น้ำปูนใส นาน 10 นาที จากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 34-52

3. การใช้ความร้อน ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 48-50

4. แช่น้ำด่างทับทิม นาน 10 นาที (ด่างทับทิม 20-30 เกล็ด) ผสมน้ำ 4 ลิตร) ล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 35-43

5. ล้างด้วยน้ำไหลจากก๊อก นาน 2 นาที ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 25-39

6. แช่น้ำซาวข้าว นาน 10 นาที และล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 29-38

7. แช่น้ำส้มสายชูหรือเกลือป่น (น้ำส้มสายชูหรือเกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 4 ลิตร) และล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 29-38

8. แช่น้ำยาล้างผัก นาน 10 นาที และล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 22-36

ข้อมูลโดย ฝ่ายตรวจวิเคราะห์สารเคมีและบริการเครื่องมือ กองป้องกันและกำจัดศัตรูพืช กรมส่งเสริมการเกษตร โทร. 561-4663
http://www.doae.go.th/library/html/detail/safeveg/index.htm

พื้นอาคารแบบคานตัวที

พื้นอาคารแบบคานตัวที








คานสะพานทางหลวง

คานสะพานทางหลวง