ศิลปะแห่งการรับคนเข้าทำงาน
1. จ้างคนที่เก่งกว่าตัวเอง
คนทั่วไปอาจจะพยายามจ้างคนที่ห่วยกว่าตัวเอง เพื่อเชิดชูความเหนือกว่า แต่คนเก่งนั้น จะจ้างคนที่เก่งเท่ากับหรือมากกว่าตัวเอง
2. จ้างคนที่หลงใหล
ถ้าพนักงานไม่ได้รัก หรือหลงใหลที่ผลงาน/ผลิตภัณฑ์ของคุณ เค้าก็มีดีแค่การศึกษากับประสบการณ์ทำงาน ซึ่งหาได้ทั่วไป
3. อย่าไปสนใจว่าคนละสาย
คนที่ทำงานข้ามสาย มักจะมุ่งมั่นกว่าคนที่เรียน/ทำงานมาตรงสาย
4. ตรวจสอบลางสังหรณ์กับแหล่งอื่น
คุณมักจะจำลางสังหรณ์ที่บังเอิญถูก แล้วคุณก็เชื่อมันในครั้งต่อๆไป จริงๆแล้วการถูกชะตานั้นอาจจะผิดก็ได้ ควรตรวจสอบหลายๆทาง
5. ตรวจสอบหลักฐานกับแหล่งอื่น
นอกจากเอกสารที่ผู้สมัครให้มาในการสมัครงานนั้น คุณได้ตรวจสอบที่อื่นจริงหรือเปล่า? แหล่งอ้างอิงที่เธอให้ ย่อมกล่าวแต่สิ่งที่ดีของเธอ
6. คิดว่า … ถ้าได้พบกันในห้างสรรพสินค้า … ?
ถ้าคุณได้พบผู้สมัครงานในห้างสรรพสินค้า คุณจะ (1) เข้าไปทักทาย (2) อยู่เฉยๆ ถ้าเจอก็ทัก (3) ขึ้นรถ ไปช้อปปิ้งที่อื่น … หากคุณไม่ได้เลือกข้อที่ 1 ก็อย่ารับคนนั้นเข้าทำงานเลย
7. ใช้อาวุธทั้งมวล
ถ้าคุณพบคนที่คิดว่าใช่ จงใช้อาวุธทั้งหมดที่มี เพื่อให้คนนั้นตัดสินใจทำงานกับคุณ แน่นอนว่า ไม่ใช่แค่เงินเดือน สวัสดิการ หุ้นส่วน ฯลฯ แต่เป็นแรงบันดาลใจที่คุณมีให้กับผู้ที่สนใจทำงานกับคุณ แรงบันดาลใจที่จะเปลี่ยนแปลงโลก หรือ สร้างสิ่งที่ยิ่งใหญ่
แน่นอนว่า รวมถึงการใช้อาวุธนั้น ทำลายโอกาสที่เธอจะตัดสินใจทำงานในบริษัทอื่นที่ใกล้เคียงกับคุณด้วย
8. กระจายไปยังทุกคนที่ตัดสินใจ
การตัดสินใจทำงานในที่ใดๆ มักไม่ได้เกิดขึ้นเพียงลำพัง คุณควรเกลี้ยกล่อม เพื่อน พี่ น้อง ครอบครัว ฯลฯ ของผู้มาสมัครด้วย ไม่ว่าโดยตรง หรือผ่านทางผู้สมัครงาน
9. เสนอค่าจ้างทีหลัง
บริษัทอเมริกันส่วนใหญ่จะเริ่มเจรจาโดยส่งจดหมายเสนอเงินเดือนขั้นต้น ซึ่งสำหรับบางคน อาจจะเป็นการดูถูก ดังนั้น คุณควรคุยเรื่องเงินเป็นเรื่องสุดท้ายสำหรับการรับคนเข้าทำงาน
10. อย่าเพิ่งคิดว่าจบ
เมื่อพนักงานเริ่มต้นทำงานกับคุณ อย่าคิดว่ากระบวนการได้เสร็จสิ้น เพราะเมื่อพวกเค้ากลับบ้านตอนกลางคืน คุณอาจจะไม่ได้เห็นพวกเค้าอีกก็ได้ หากคุณไม่สามารถทำให้ความมุ่งมั่น และ ควารักในงาน นั้นดำเนินต่อไป
ลอกข้อดีจาก
http://www.imenn.com/2006/02/the-art-of-recr/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น