คอนกรีตผสมเสร็จ,แผ่นพื้นสำเร็จรูป,เสาเข็ม,ปั้นจั่น, รั้วสำเร็จรูป,ท่อคอนกรีต,ทางเท้า,ปั่นจั่นตอกเสาเข็ม,รถเครน Facebook : tpc concrete nakhonsrithammarat
วันอาทิตย์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
วิธีบริโภคผักให้ปลอดภัย
ผักเป็นอาหารที่สำคัญต่อร่างกาย ประกอบด้วยเซลลูโรสจำนวนมาก ซึ่งมีประโยชน์ช่วยในการขับถ่ายทำให้ไม่เป็นโรคท้องผูก และที่สำคัญในผักมีวิตามินเอช่วยบำรุงสายตา วิตามินซี ช่วยบำรุงเหงือกและฟัน และสร้างภูมิต้านทานโรคให้กับร่างกาย
แต่ในปัจจุบันผู้บริโภคมักประสบปัญหาสารตกค้างในพืชผัก อันเนื่องมาจากการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชที่ไม่ถูกต้องไม่เหมาะสม และไม่ระมัดระวังของเกษตรกรผู้ผลิต ทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนผู้บริโภค ดังนั้นผู้บริโภคจึงควรพิจารณาเลือกซื้อผักที่ปลอดภัยจากสารพิษ เช่น ผักที่ได้รับรองจากหน่วยราชการ หรือองค์กรต่างๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีวิธีการที่ทำให้สารพิษตกค้างในผักลดน้อยลง เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้บริโภคด้วยวิธีการต่างๆ ก่อนนำประกอบอาหารรับประทาน ดังนี้
1. ลอกหรือปอกเปลือก แล้วแช่น้ำสะอาดนาน 5-10 นาที จากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 27-72
2. แช่น้ำปูนใส นาน 10 นาที จากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 34-52
3. การใช้ความร้อน ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 48-50
4. แช่น้ำด่างทับทิม นาน 10 นาที (ด่างทับทิม 20-30 เกล็ด) ผสมน้ำ 4 ลิตร) ล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 35-43
5. ล้างด้วยน้ำไหลจากก๊อก นาน 2 นาที ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 25-39
6. แช่น้ำซาวข้าว นาน 10 นาที และล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 29-38
7. แช่น้ำส้มสายชูหรือเกลือป่น (น้ำส้มสายชูหรือเกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 4 ลิตร) และล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 29-38
8. แช่น้ำยาล้างผัก นาน 10 นาที และล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 22-36
ข้อมูลโดย ฝ่ายตรวจวิเคราะห์สารเคมีและบริการเครื่องมือ กองป้องกันและกำจัดศัตรูพืช กรมส่งเสริมการเกษตร โทร. 561-4663http://www.doae.go.th/library/html/detail/safeveg/index.htm
วันเสาร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
วันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
การใช้น้ำยากันซึมในการผสมคอนกรีต
มักจะมีการถามถึงการป้องกันการรั่วซึมของพื้นคอนกรีตดาดฟ้าอยู่เสมอ วิธีการหนึ่งที่นิยมใช้ก็คือ การใส่น้ำยากันซึมผสม
ในคอนกรีตที่ใช้งานด้วย จากประสบการณ์ของผมเองในแวดวงของงานก่อสร้างบ้านพักอาศัย มักจะเห็นว่าผู้รับเหมาก่อสร้าง
หรือแม้แต่ผู้ควบคุมงานก่อสร้างนั้น ยังขาดความเข้าใจในการใช้น้ำยากันซึมอยู่มาก โดยส่วนใหญ่มักจะคิดว่า การใส่น้ำยากันซึม
เข้าไปในส่วนผสมคอนกรีตนั้น คือน้ำยาวิเศษที่ช่วยให้คอนกรีต มีความสามารถกันน้ำได้ แล้วก็มีการใช้กันอย่างผิดๆซะเป็นส่วน
ใหญ่ ก็เลยคิดว่าข้อความในกระทู้นี้คงจะเป็น ประโยชน์บ้างกับเพื่อนๆที่จะใช้น้ำยากันซึมในการผสมคอนกรีต ความสามารถ
กันน้ำของคอนกรีตนั้นจะเพิ่มขึ้นตามค่ากำลังหรือความแข็งแรงของคอนกรีต ซึ่งโดยปกติแล้ว คอนกรีตที่ใช้ในงานก่อสร้าง
ทั่วไป(ค่ากำลังอัดทรงกระบอกที่อายุ 28 วัน มากกว่า 210 กก/ตร.ซม.ขึ้นไป) ถ้ามีเนื้อคอนกรีตสม่ำเสมอที่ดี ก็จะมีความสามารถ
ป้องกันการซึมของน้ำได้ในระดับหนึ่งอยู่แล้ว แต่ถ้าต้องการให้คอนกรีตมีความสามารถในการกันน้ำมากขึ้น เช่นพื้นห้องน้ำหรือ
พื้นดาดฟ้า ก็จะต้องใช้คอนกรีต ที่มีกำลังสูงขึ้น
ซึ่งค่ากำลังของคอนกรีตนั้น จะขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำในส่วนผสมคอนกรีต ซึ่งจะเป็นสัดส่วนกับปูนซีเมนต์ ที่เรียกว่าค่า
water cement ratio (w/c) เช่นปูนซีเมนต์ 1 ถุง น้ำหนัก 50 กก. ถ้าใส่น้ำ 25 กก.จะได้ค่าw/c=50/25=0.5
ซึ่งคอนกรีตที่มีความสามารถกันน้ำได้ดีควรจะมีค่า w/c ต่ำกว่า 0.4 หมายถึงว่าผสมคอนกรีตโดยใช้ปูน 1 ถุงจะใส่น้ำได้
20 กก. ถ้าผสมโดยใช้ส่วนผสมเช่นนี้ได้ก็ไม่น่าจะมีปัญหา แต่มักจะพบว่าถ้าทำการผสมคอนกรีตโดยใช้ปริมาณน้ำดังกล่าว เมื่อ
ใส่ทราย และหินลงไปแล้ว คอนกรีตจะค่อนข้างข้นซึ่งจะนำไปใช้งานหรือเทลงในแบบได้ยาก ซึ่งจะเรียกว่ามีความสามารถ
เทได้(workability) ต่ำ ค่าดังกล่าวนี้นิยมวัดที่ค่าการยุบตัวของคอนกรีตที่เรียกกันว่าslump จะขอข้ามในรายละเอียด
ไปเพราะจะทำให้ยืดยาว แต่เอาเป็นว่า ถ้าคอนกรีตเหลวมาก ก็จะมีค่าslumpมากจะทำงานได้ง่าย แต่ถ้าจะให้คอนกรีตเหลว
เพิ่มขึ้น ก็ต้องใส่น้ำเพิ่มขึ้น ถ้าน้ำมากขึ้น ค่า w/c ก็จะเพิ่มขึ้น กำลังคอนกรีตก็จะลดลง ดังนั้น น้ำยากันซึมก็จะเข้ามามีบทบาท
ตรงนี้คือ ทำให้คอนกรีตเหลวขึ้นโดยไม่ต้องเพิ่มน้ำ แต่ใช้การลดปริมาณน้ำลง แล้วเพิ่มน้ำยากันซึมเข้าไปแทน ซึ่งแท้ที่จริง
แล้วน้ำยากันซึมก็คือ สารลดน้ำ ในส่วนผสมคอนกรีตนั่นเอง ซึ่งในการใช้งาน ถ้าใส่น้ำยากันซึมในส่วนผสมโดยไม่ลดปริมาณ
น้ำให้ได้ค่า w/c ที่ต่ำ แล้วใส่น้ำยาลงไปก็ไม่ช่วยให้กำลังสูงขึ้น เพียงแต่จะช่วยให้คอนกรีตเหลวขึ้นเท่านั้น การใช้งานที่ไม่ถูกต้อง
นั้นมักจะพบว่า ไม่ทำการศึกษารายละเอียดปริมาณการใช้งานให้ถูกต้องเสียก่อน ส่วนใหญ่ผลิตภัณฑ์ ที่มีคุณภาพจะระบุปริมาณ
น้ำและน้ำยาในส่วนผสมมาให้ด้วย ซึ่งการผสมจะต้องผสมในน้ำก่อนที่จะนำไปผสมในคอนกรีต ถ้าหากใส่ลงไปภายหลัง
จากผสมคอนกรีตแล้ว และน้ำยาไม่กระจายตัวดีแล้วก็จะทำให้คอนกรีตไม่แข็งตัว
สรุปสั้นตรงนี้ก็คือ ถ้าผสมคอนกรีตให้มีค่า w/c ต่ำกว่า0.4และนำไปใช้งานได้แล้ว คอนกรีตก็จะมีความสามารถกันน้ำได้ดี
แต่ถ้าคอนกรีตแห้งไปให้เพิ่มน้ำยากันซึมเข้าไปในส่วนผสมแทนการเพิ่มปริมาณน้ำในส่วนผสมคอนกรีต แต่อย่างไรก็ตาม การ
ใช้คอนกรีตที่มีค่า w/c ต่ำจะมีการบ่มที่ดีด้วย เนื่องจากมักจะแตกร้าวได้ง่ายเนื่องจากการใช้ปริมาณ ของปูนซีเมนต์ที่ค่อนข้างมาก
ถ้าจะกล่าวถึงอีกก็จะค่อนข้างยาวและเกี่ยวพันประเด็นอื่นอีก หวังว่ากระทู้นี้คงจะเป็นประโยชน์บ้างกับผู้ที่ยังคงคิดว่า น้ำยากันซึม
เป็นน้ำยาวิเศษที่ทำให้คอนกรีตป้องกันน้ำได้ แต่แท้ที่จริงแล้ว ถ้าใช้งานไม่ถูกต้องก็เป็นการสิ้นเปลืองเงินค่าน้ำยาโดยใช้เหตุ แถม
คอนกรีตยังกันน้ำซึมไม่ได้อีกด้วย
เนื้อหาจาก webboard ASA โดยคุณ CM
๑. น้ำยากันซึมไม่ได้ทำหน้าที่ "อุดรู" เพื่อไม่ให้น้ำซึมผ่านคอนกรีต
๒. น้ำยากันซึมทำหน้าที่ให้ "คอนกรีตเหลวตัว" เพื่อให้คอนกรีตแน่ตัวจนมีรูโพรงในคอนกรีตน้อยลง
๓. น้ำยากันซึมต้อง "ผสมกับน้ำก่อน" แล้วจึงเอาน้ำนั้นไปผสมคอนกรีต
๔. ถ้าใส่น้ำยากันซึมไปตอนโม่คอนกรีตที่ผสมน้ำแล้ว "น้ำยากันซึมจะไม่กระจายตัว" ไปทั่วมวลคอนกรีต
๕. ถ้าน้ำยากันซึม "อยู่เป็นจุดๆในคอนกรีตจะทำให้คอนกรีตตรงนั้นเป็นปัญหา" คอนกรีตตรงนั้นจะไม่แข็งตัว
๖. ถ้าผมสน้ำยากันซึมมากเกินไปแม้จะถูกวิธีก็จะทำให้ "คอนกรีตไม่แข็งตัว" จะเสื่อมสภาพ
๗. การใช้น้ำยากันซึมต้องอ่าน spec การใช้ก่อนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง "อัตราส่วนน้ำต่อคอนกรีต" ว่าเป็นเท่าไร
บทสรุปจากคุณ ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์
จาก http://www.thaihomemaster.com/showinformation.php?TYPE=12&ID=287
เทถนนหรือพื้นแล้วทำไมเกิดฝุ่นที่ผิวหน้า
เรียบเรียงโดย ดร. ปัณฑ์ ปานถาวร
จาก http://www.journal.thaitca.or.th//index.php?option=com_content&task=view&id=44&Itemid=42
บทนำ
การเกิดฝุ่นที่ผิวหน้า คอนกรีตเป็นการสะสมของวัสดุที่มีลักษณะเป็นผงหรืออนุภาคขนาดเล็กอยู่ที่ บริเวณผิวหน้าของคอนกรีตที่แข็งตัวแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับโครงสร้างคอนกรีตประเภทพื้นและผิวถนน โดยจะเกิดภายหลังจากการใช้งานหรือถูกขัดสีไปแล้วระยะเวลาหนึ่ง
สาเหตุที่ทำให้ผิวหน้าของคอนกรีตเป็นฝุ่น
ฝุ่น ที่ผิวหน้าคอนกรีตมีสาเหตุมาจากการที่ผิวหน้าคอนกรีตมีความอ่อนแอไม่สามารถ ต้านทานการขัดสีซึ่งเกิดขึ้นโดยปกติหรืออาจถูกขีดข่วนด้วยวัตถุที่มีความ แข็งหรือการกวาดพื้น อนุภาคของส่วนละเอียดไม่มีแรงยึดเหนี่ยวกับเนื้อคอนกรีตทำให้อนุภาคของส่วน ละเอียดนี้หลุดร่อนออกมา ดังที่แสดงไว้ในรูปที่ 1โดยมีสาเหตุหลักในการเกิดดังนี้
1. การเลือกใช้คอนกรีตไม่ถูกกับประเภทของงาน เช่น เลือกใช้คอนกรีตที่มีกำลังอัดต่ำเกินไปและมีความสามารถต้านการขัดสีได้น้อย
2. มี ปริมาณน้ำในส่วนผสมคอนกรีตที่มากเกินไปหรือมีการเติมน้ำที่หน้างาน เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเยิ้มน้ำขึ้นที่ผิวหน้าคอนกรีต ซึ่งทำให้อัตราส่วนระหว่างน้ำและวัสดุประสานที่ผิวหน้าคอนกรีตสูงขึ้นมาก ทำให้ความทนต่อการขัดสีลดลงอย่างมาก
3. การแต่งผิวหน้าคอนกรีตที่เร็ว เกินไป ทำให้น้ำที่จะเยิ้มขึ้นมาที่ผิวหน้าถูกดันกลับเข้าไปในเนื้อคอนกรีตขณะแต่ง ผิว ซึ่งก็ทำให้อัตราส่วนระหว่างน้ำและวัสดุเชื่อมประสานที่ผิวหน้าคอนกรีตสูง ขึ้นมาก
4. น้ำส่วนเกินจากการแต่งผิวหน้าคอนกรีต จากการฉีดพรมน้ำลงบนพื้นเพื่อเพิ่มความสะดวกในการขัดหน้า
5. ไม่มีการป้องกันผิวหน้าคอนกรีตที่ยังไม่แข็งตัว ขณะเกิดฝนตก
6. การเทคอนกรีตบนพื้นดิน ที่มีการดูดซับต่ำหรือมีการปูแผ่นพลาสติก ทำให้ปริมาณน้ำที่เยิ้มขึ้นมากที่ผิวหน้ามีมากกว่าปกติ
7. การเกิดคาร์บอเนชั่น (Carbonation) ที่ผิวหน้าเนื่องจากไม่มีอากาศถ่ายเทและมีก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์สูง
แต่ สาเหตุที่พบในประเทศไทยส่วนใหญ่จะมาจากสองข้อแรก คือการเลือกใช้คอนกรีตที่มีกำลังอัดต่ำหรือปานกลางมาใช้สำหรับเทงานถนนหรือ งานพื้น (กำลังอัด 180-240 กก./ตร.ซม.) ซึ่งมีความสามารถต้านการขัดสีน้อยอยู่แล้ว และการเติมน้ำที่หน้างานเพื่อเพิ่มความสะดวกในการเทคอนกรีต ซึ่งจะส่งผลให้คอนกรีตมีความสามารถต้านการขัดสีลดลงไปอีก หากมีการขัดหน้าที่ไม่ถูกวิธีเพิ่มขึ้นมาอีก ผิวหน้าก็จะเกิดเป็นฝุ่นอย่างแน่นอน
การป้องกันการเกิดเป็นฝุ่นที่ผิวหน้าของคอนกรีต
จาก สาเหตุหลักที่กล่าวมาทั้ง 7 ข้อ ควรเริ่มจากการใช้คอนกรีตให้ถูกประเภทซึ่งควรมีกำลังอัดอย่างต่ำ280 กก./ตร.ซม. (ใช้ตัวอย่างทรงกระบอกมาตรฐาน Ø 15 x 30 ซม.) โดยดูจากปริมาณของปูนซีเมนต์และวัสดุประสานอื่นๆเป็นหลัก ว่าควรมีปริมาณ 330 กก./ลบ.ม. อย่างต่ำ หากเป็นส่วนผสมที่มีเถ้าลอยรวมอยู่ด้วยปริมาณของเถ้าลอยไม่ควรเกินร้อยละ 20 ของวัสดุประสานทั้งหมด การมีเถ้าลอยในส่วนผสมนั้น ยิ่งมีปริมาณมากก็ยิ่งส่งผลให้คอนกรีตพัฒนากำลังอัดได้ช้าลง ซึ่งไม่เหมาะสมกับพฤติกรรมการก่อสร้างของประเทศไทยที่ต้องการใช้งานของตัว โครงสร้างเร็ว และหลีกเลี่ยงการเติมน้ำหน้างานในรถโม่ อีกทั้งควบคุมการขัดผิวหน้าให้เป็นไปอย่างถูกต้อง ไม่ใช้วิธีสาดปูนเพื่อซับน้ำที่เยิ้มขึ้นมาที่ผิวหน้า แต่ควรใช้วิธีการอื่นในการซับน้ำ หากเทคอนกรีตกลางแจ้งในช่วงฤดูฝนก็ควรมีการป้องกันน้ำฝนไม่ให้สัมผัสกับผิว หน้า ส่วนการปูแผ่นพลาสติกและการเกิดคาร์บอเนชั่นนั้นไม่ค่อยเป็นปัญหาสำหรับ ประเทศไทย
ข้อสรุปและการแก้ไขปัญหา
ปํญหาการเกิดฝุ่นที่ผิวหน้า คอนกรีตนั้น สามารถป้องกันได้ไม่ยาก แต่เป็นปัญหาที่พบเห็นได้ทั่วไปในประเทศเนื่องจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ การเทคอนกรีตขาดความรู้ความเข้าใจในวิชาการคอนกรีตและวิธีการก่อสร้าง การป้องกันการใช้คอนกรีตผิดประเภทสามารถทำได้ตั้งแต่ขั้นตอนการสั่งคอนกรีต ผู้ผลิตคอนกรีตควรสอบถามผู้บริโภคถึงลักษณะของโครงสร้างและการใช้งาน หากพบว่าเป็นงานพื้นหรืองานถนนก็ควรแนะนำลูกค้าสั่งคอนกรีตที่มีความทนต่อ การขัดสีดีกว่า และให้ความรู้แก่ผู้บริโภคด้านผลของการเติมน้ำ และอาจรวมถึงวิธีขัดมันที่ถูกต้อง
การซ่อมแซมผิวหน้าคอนกรีตที่เป็นฝุ่น เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยุ่งยาก หากชั้นที่เกิดการหลุดล่อนเป็นฝุ่นไม่หนามากนัก (0.5-1.5 มม.) ก็อาจแก้ไขได้โดยการขัดชั้นผิวนั้นออก ซึ่งถ้าไม่ลึกมากก็สามารถใช้แปรงลวดขัดออกได้ แต่ถ้าลึกพอสมควรอาจต้องใช้เครื่องขัดประเภทเดียวกับรถกวาดถนนของ กทม. หรือหากผิวหน้าไม่หลุดล่อนเป็นแผ่นและคอนกรีตมีอายุ 28 วันขึ้นไป ก็อาจใช้สารเคมีจำพวก Sodium Cilicate หรือ Magnesium Fluoro-Silicate ซึ่งจะทำปฏิกิริยาทางเคมีกับแคลเซียมไฮดรอกไซด์และเกิดวัสดุประสานทำให้ เพิ่มความแข็งแกร่งที่ผิวหน้าได้ การใช้ Epoxy Sealers หรือ Cement Paint ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งแต่ราคาจะแพงมาก
สำหรับชั้นผิวที่หนากว่า 2 มม.อาจแก้ไขโดยการทำการขัดผิวหน้าแบบเปียก (Wet Grinding)
เพื่อ ลอกชั้นที่อ่อนแอออกจนกระทั่งเห็นเม็ดหิน ซึ่งโดยทั่วไปต้องขัดลึกประมาณ 3 มม. หรือเททับหน้าใหม่ (Topping or Overlaying) โดยการสกัดเอาส่วนผิวหน้าที่อ่อนแอออกแล้วจึงทำการเททับเพื่อปรับระดับให้ ได้ตามที่ต้องการ สำหรับบ้านพักอาศัย อาจเลือกการใช้วัสดุตกแต่งปิดทับผิวหน้าคอนกรีตได้เลย อาทิ พรม หรือกระเบื้อง
อ้างอิง
1. Dusting Concrete Surfaces, National Ready Mixed Concrete Association, U.S.A. (1998)
2. Avoiding Surface Imperfections in Concrete: Dusting concrete surfaces, Cement and Concrete Association of Australia, Australia. (2001)
3. ACI 302.1R-04 Guide for Concrete Floor and Slab Construction, American Concrete Institute, U.S.A. (2004)
การใช้จ่ายทรัพย์(ของเศรษฐี)
ทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร ได้มาโดยธรรมนั้น หากท่านใช้จ่ายทรัพย์ได้ตามที่ พระพุทธองค์ ทรงแสดงไว้แก่ อนาถบิณฑิกเศรษฐี แล้วนั้น จักทำให้ท่านรับประโยชน์สูงสุด ทำให้ตนสงบ หายร้อนกิเลสได้
แนวทางการใช้จ่ายทรัพย์มีดังต่อไปนี้
1. ควรใช้จ่ายทรัพย์เลี้ยงตนให้มีสุข ให้อิ่มเอิบ เลี้ยงบิดามารดา บุตรภรรยา คนรับใช้ กรรมกร คนงาน ให้เป็นสุข ให้อิ่มเอิบ เอาใจใส่ดูแลให้เป็นสุขโดยชอบ
2. ควรใช้จ่ายทรัพย์เลี้ยงมิตรสหาย และผู้ร่วมกิจการงานทั้งหลาย ให้เป็นสุข ให้อิ่มเอิบ เอาใจใส่ดูแลให้เป็นสุขโดยชอบ
3. ควรสงเคราะห์ญาติ ต้อนรับแขก ทำบุญอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ล่วงลับ บำรุงราชการ บำรุงศาสนา
4. ระวังป้องกันทรัพย์จากภยันตรายที่เกิดขึ้นจาก ไฟ นำ้ โจร ทายาทร้าย
คัดมาจาก หนังสือ เคหการเกษตร ธรรมะกับชาวสวน โดย เปรมจิตต์ นริศอารีย์
การประเมินกำลังอัดของคอนกรีตที่ได้จากการเจาะ
ศาสตราจารย์ ดร. ชัย จาตุรพิทักษ์กุล
ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
การเจาะคอนกรีต (coring of concrete) จะกระทำก็ต่อเมื่อต้องการตัวอย่างคอนกรีตที่แข็งตัวแล้วมาทดสอบคุณสมบัติ ต่างๆ เช่น กำลัง ความคงทน ความหนาแน่น ดูการแยกตัวของคอนกรีต เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้แน่ใจว่าโครงสร้างคอนกรีตสามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย ความไม่แน่ใจในคอนกรีตที่เทเสร็จแล้วอาจเกิดขึ้นเมื่อผลทดสอบตัวอย่าง คอนกรีตที่เก็บพร้อมกับการเทคอนกรีตลงในโครงสร้างมีค่าต่ำกว่าที่ออกแบบไว้ หรือเมื่อคอนกรีตผ่านการใช้งานและอาจเกิดการเสียหาย การเจาะคอนกรีตเพื่อทำการทดสอบจะเสียค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง และตำแหน่งที่เจาะคอนกรีตจะเป็นหลุมซึ่งมักทำให้โครงสร้างเสียความแข็งแรง และต้องทำการอุดบริเวณที่เจาะคอนกรีต ดังนั้นการเจาะคอนกรีตจึงควรดำเนินการในกรณีที่จำเป็นจริงๆเท่านั้น รูปที่ 1 แสดงคอนกรีตที่ได้จากการเจาะ ซึ่งมักมีขนาดและความยาวไม่เป็นไปตามมาตรฐาน (คอนกรีตมาตรฐานเป็นทรงกระบอกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 15 ซม. สูง 30 ซม.)
สนใจอ่านบทความทั้งหมด เชิญที่่ http://www.journal.thaitca.or.th//index.php?option=com_content&task=view&id=30&Itemid=42