วันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

เทถนนหรือพื้นแล้วทำไมเกิดฝุ่นที่ผิวหน้า

เทถนนหรือพื้นแล้วทำไมเกิดฝุ่นที่ผิวหน้า

เรียบเรียงโดย ดร. ปัณฑ์ ปานถาวร
จาก http://www.journal.thaitca.or.th//index.php?option=com_content&task=view&id=44&Itemid=42
บทนำ
การเกิดฝุ่นที่ผิวหน้า คอนกรีตเป็นการสะสมของวัสดุที่มีลักษณะเป็นผงหรืออนุภาคขนาดเล็กอยู่ที่ บริเวณผิวหน้าของคอนกรีตที่แข็งตัวแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับโครงสร้างคอนกรีตประเภทพื้นและผิวถนน โดยจะเกิดภายหลังจากการใช้งานหรือถูกขัดสีไปแล้วระยะเวลาหนึ่ง
สาเหตุที่ทำให้ผิวหน้าของคอนกรีตเป็นฝุ่น
ฝุ่น ที่ผิวหน้าคอนกรีตมีสาเหตุมาจากการที่ผิวหน้าคอนกรีตมีความอ่อนแอไม่สามารถ ต้านทานการขัดสีซึ่งเกิดขึ้นโดยปกติหรืออาจถูกขีดข่วนด้วยวัตถุที่มีความ แข็งหรือการกวาดพื้น อนุภาคของส่วนละเอียดไม่มีแรงยึดเหนี่ยวกับเนื้อคอนกรีตทำให้อนุภาคของส่วน ละเอียดนี้หลุดร่อนออกมา ดังที่แสดงไว้ในรูปที่ 1โดยมีสาเหตุหลักในการเกิดดังนี้

1. การเลือกใช้คอนกรีตไม่ถูกกับประเภทของงาน เช่น เลือกใช้คอนกรีตที่มีกำลังอัดต่ำเกินไปและมีความสามารถต้านการขัดสีได้น้อย
2. มี ปริมาณน้ำในส่วนผสมคอนกรีตที่มากเกินไปหรือมีการเติมน้ำที่หน้างาน เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเยิ้มน้ำขึ้นที่ผิวหน้าคอนกรีต ซึ่งทำให้อัตราส่วนระหว่างน้ำและวัสดุประสานที่ผิวหน้าคอนกรีตสูงขึ้นมาก ทำให้ความทนต่อการขัดสีลดลงอย่างมาก
3. การแต่งผิวหน้าคอนกรีตที่เร็ว เกินไป ทำให้น้ำที่จะเยิ้มขึ้นมาที่ผิวหน้าถูกดันกลับเข้าไปในเนื้อคอนกรีตขณะแต่ง ผิว ซึ่งก็ทำให้อัตราส่วนระหว่างน้ำและวัสดุเชื่อมประสานที่ผิวหน้าคอนกรีตสูง ขึ้นมาก
4. น้ำส่วนเกินจากการแต่งผิวหน้าคอนกรีต จากการฉีดพรมน้ำลงบนพื้นเพื่อเพิ่มความสะดวกในการขัดหน้า
5. ไม่มีการป้องกันผิวหน้าคอนกรีตที่ยังไม่แข็งตัว ขณะเกิดฝนตก
6. การเทคอนกรีตบนพื้นดิน ที่มีการดูดซับต่ำหรือมีการปูแผ่นพลาสติก ทำให้ปริมาณน้ำที่เยิ้มขึ้นมากที่ผิวหน้ามีมากกว่าปกติ
7. การเกิดคาร์บอเนชั่น (Carbonation) ที่ผิวหน้าเนื่องจากไม่มีอากาศถ่ายเทและมีก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์สูง

แต่ สาเหตุที่พบในประเทศไทยส่วนใหญ่จะมาจากสองข้อแรก คือการเลือกใช้คอนกรีตที่มีกำลังอัดต่ำหรือปานกลางมาใช้สำหรับเทงานถนนหรือ งานพื้น (กำลังอัด 180-240 กก./ตร.ซม.) ซึ่งมีความสามารถต้านการขัดสีน้อยอยู่แล้ว และการเติมน้ำที่หน้างานเพื่อเพิ่มความสะดวกในการเทคอนกรีต ซึ่งจะส่งผลให้คอนกรีตมีความสามารถต้านการขัดสีลดลงไปอีก หากมีการขัดหน้าที่ไม่ถูกวิธีเพิ่มขึ้นมาอีก ผิวหน้าก็จะเกิดเป็นฝุ่นอย่างแน่นอน
การป้องกันการเกิดเป็นฝุ่นที่ผิวหน้าของคอนกรีต

จาก สาเหตุหลักที่กล่าวมาทั้ง 7 ข้อ ควรเริ่มจากการใช้คอนกรีตให้ถูกประเภทซึ่งควรมีกำลังอัดอย่างต่ำ280 กก./ตร.ซม. (ใช้ตัวอย่างทรงกระบอกมาตรฐาน Ø 15 x 30 ซม.) โดยดูจากปริมาณของปูนซีเมนต์และวัสดุประสานอื่นๆเป็นหลัก ว่าควรมีปริมาณ 330 กก./ลบ.ม. อย่างต่ำ หากเป็นส่วนผสมที่มีเถ้าลอยรวมอยู่ด้วยปริมาณของเถ้าลอยไม่ควรเกินร้อยละ 20 ของวัสดุประสานทั้งหมด การมีเถ้าลอยในส่วนผสมนั้น ยิ่งมีปริมาณมากก็ยิ่งส่งผลให้คอนกรีตพัฒนากำลังอัดได้ช้าลง ซึ่งไม่เหมาะสมกับพฤติกรรมการก่อสร้างของประเทศไทยที่ต้องการใช้งานของตัว โครงสร้างเร็ว และหลีกเลี่ยงการเติมน้ำหน้างานในรถโม่ อีกทั้งควบคุมการขัดผิวหน้าให้เป็นไปอย่างถูกต้อง ไม่ใช้วิธีสาดปูนเพื่อซับน้ำที่เยิ้มขึ้นมาที่ผิวหน้า แต่ควรใช้วิธีการอื่นในการซับน้ำ หากเทคอนกรีตกลางแจ้งในช่วงฤดูฝนก็ควรมีการป้องกันน้ำฝนไม่ให้สัมผัสกับผิว หน้า ส่วนการปูแผ่นพลาสติกและการเกิดคาร์บอเนชั่นนั้นไม่ค่อยเป็นปัญหาสำหรับ ประเทศไทย
ข้อสรุปและการแก้ไขปัญหา

ปํญหาการเกิดฝุ่นที่ผิวหน้า คอนกรีตนั้น สามารถป้องกันได้ไม่ยาก แต่เป็นปัญหาที่พบเห็นได้ทั่วไปในประเทศเนื่องจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ การเทคอนกรีตขาดความรู้ความเข้าใจในวิชาการคอนกรีตและวิธีการก่อสร้าง การป้องกันการใช้คอนกรีตผิดประเภทสามารถทำได้ตั้งแต่ขั้นตอนการสั่งคอนกรีต ผู้ผลิตคอนกรีตควรสอบถามผู้บริโภคถึงลักษณะของโครงสร้างและการใช้งาน หากพบว่าเป็นงานพื้นหรืองานถนนก็ควรแนะนำลูกค้าสั่งคอนกรีตที่มีความทนต่อ การขัดสีดีกว่า และให้ความรู้แก่ผู้บริโภคด้านผลของการเติมน้ำ และอาจรวมถึงวิธีขัดมันที่ถูกต้อง
การซ่อมแซมผิวหน้าคอนกรีตที่เป็นฝุ่น เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยุ่งยาก หากชั้นที่เกิดการหลุดล่อนเป็นฝุ่นไม่หนามากนัก (0.5-1.5 มม.) ก็อาจแก้ไขได้โดยการขัดชั้นผิวนั้นออก ซึ่งถ้าไม่ลึกมากก็สามารถใช้แปรงลวดขัดออกได้ แต่ถ้าลึกพอสมควรอาจต้องใช้เครื่องขัดประเภทเดียวกับรถกวาดถนนของ กทม. หรือหากผิวหน้าไม่หลุดล่อนเป็นแผ่นและคอนกรีตมีอายุ 28 วันขึ้นไป ก็อาจใช้สารเคมีจำพวก Sodium Cilicate หรือ Magnesium Fluoro-Silicate ซึ่งจะทำปฏิกิริยาทางเคมีกับแคลเซียมไฮดรอกไซด์และเกิดวัสดุประสานทำให้ เพิ่มความแข็งแกร่งที่ผิวหน้าได้ การใช้ Epoxy Sealers หรือ Cement Paint ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งแต่ราคาจะแพงมาก

สำหรับชั้นผิวที่หนากว่า 2 มม.อาจแก้ไขโดยการทำการขัดผิวหน้าแบบเปียก (Wet Grinding)
เพื่อ ลอกชั้นที่อ่อนแอออกจนกระทั่งเห็นเม็ดหิน ซึ่งโดยทั่วไปต้องขัดลึกประมาณ 3 มม. หรือเททับหน้าใหม่ (Topping or Overlaying) โดยการสกัดเอาส่วนผิวหน้าที่อ่อนแอออกแล้วจึงทำการเททับเพื่อปรับระดับให้ ได้ตามที่ต้องการ สำหรับบ้านพักอาศัย อาจเลือกการใช้วัสดุตกแต่งปิดทับผิวหน้าคอนกรีตได้เลย อาทิ พรม หรือกระเบื้อง

อ้างอิง
1. Dusting Concrete Surfaces, National Ready Mixed Concrete Association, U.S.A. (1998)
2. Avoiding Surface Imperfections in Concrete: Dusting concrete surfaces, Cement and Concrete Association of Australia, Australia. (2001)
3. ACI 302.1R-04 Guide for Concrete Floor and Slab Construction, American Concrete Institute, U.S.A. (2004)

ไม่มีความคิดเห็น: