คอนกรีตผสมเสร็จ,แผ่นพื้นสำเร็จรูป,เสาเข็ม,ปั้นจั่น, รั้วสำเร็จรูป,ท่อคอนกรีต,ทางเท้า,ปั่นจั่นตอกเสาเข็ม,รถเครน Facebook : tpc concrete nakhonsrithammarat
วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2553
ระยะร่นของบ้านเดี่ยว
ระยะร่นของบ้านเดี่ยว
กฎหมายที่ ต้องพิจาณาหลักๆ 2 ตัวครับ คือ
พรบ.ควบคุมอาคาร(ใช้ควบคุมทั้งประเทศ) และ ข้อบัญญัติกทม.(ใช้เฉพาะเขต กรุงเทพฯ)
เริ่มจากด้านหน้าที่ติดถนน ก่อน
กรณีบ้าน 3 ชั้นหรือสูงเกิน 10 ม.กฎหมายท่านว่าไว้ว่า หากสร้างติดริมถนนสาธารณะที่กว้างน้อยกว่า 10 ม. ให้ร่นแนวอาคารห่างจากกึ่งกลางถนนอย่างน้อย 6 เมตร
หมายความว่า
หาก ถนนหน้าบ้านหลังนี้กว้าง 6 ม. แนวอาคารต้องห่างจากเขตที่ดินด้านหน้าอย่างน้อย 3 ม.
ส่วนด้านอีก 3 ด้านที่เหลือซึ่งติดกับที่ดินเอกชน
ช่องเปิด ประตู หน้าต่าง ช่องระบายอากาศ หรือริมระเบียงชั้นที่ 2 ลงมา หรือสูงไม่เกิน 9 เมตร ต้องอยู่ห่างจากที่ดินไม่น้อยกว่า 2 ม. และสำหรับชั้น 3 ขึ้นไป หรือสูงเกิน 9 เมตร ต้องห่างไม่น้อยกว่า 3 ม.
หมายความว่า
ในชั้นที่ 1 และ 2 หากผนังด้านที่ติดกับที่ดินเอกชน ต้องการจะทำประตู หน้าต่าง หรือระเบียง ต้องห่างจากแนวเขตที่ดินด้านนั้นๆ อย่างน้อย 2 ม.
ส่วนชั้น ที่ 3 ต้องหดผนังห่างจากแนวเขตที่ดิน ไม่น้อยกว่า 3 ม.
กรณีนี้ หากก่อสร้างตามข้อกำหนด และต้องการเปิดช่องเปิดทุกๆด้านที่ติดที่ดินเอกชน
ตัว บ้านจะต้องออกแบบเหมือนปิรามิด คือ ชั้น 1และ2 ห่างจากเขตที่ดิน 2 เมตร ชั้น 3
จะต้องหดเข้าไปอีก จากแนวบ้านเดิม อีก 1 เมตร เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย
ดังนั้น พื้นที่ที่จะสร้างบ้าน 3 ชั้น มีช่องเปิดทุกด้าน จากโจทย์ขนาดที่ดิน 17x26 ม.(กว้างxลึก)
ชั้นที่ 1 และ 2 จะได้พื้นที่สร้างบ้านมีขนาดมากที่สุดที่ 13(17-2-2)x21(26-3-2) ม.
ส่วน ชั้นที่ 3 จะได้พื้นที่มากที่สุด 11(17-3-3)x20(26-3-3) ม.
ซึ่ง หากออกแบบตามนี้ ก็จะผ่านข้อกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้องอีกด้วย
เช่น บ้านพักอาศัย ต้องมีพื้นที่ว่างไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของที่ดิน และ อาคารที่สูงไม่เกิน 15 ม. ต้องมีที่ว่างโดยรอบ 1 เมตร ยกเว้นบ้านพักอาศัยที่มีพื้นที่ไม่เกิน 300 ตรม.
แต่......
ที่ เราเห็นบ้านหลายๆหลัง ก่อสร้างโดยมีระยะร่นที่น้อยกว่ากฎหมายกำหนด นั่นอาจมีหลายสาเหตุครับ
เช่น
ในการออกแบบและยื่นขออนุญาติ ผนังด้านที่มีระยะร่นไม่ถึงกฎหมายกำหนดทางสถาปนิกออกแบบให้เป็นผนังทึบ(ไม่ มีช่องเปิด) ไม่มีระเบียง แต่ในขั้นตอนการก่อสร้าง เจ้าของบ้านอาจมาติดตั้งประตูหน้าต่าง หรือปรับแบบเพิ่มระเบียงเองภายหลัง
หรือ มีการต่อเติม ขยายพื้นที่ขึ้นมาภายหลังโดยไม่ได้ทำการยื่นขออนุญาตเพิ่มเติมกับทางเขตครับ
(ตาม กฎหมาย การต่อเติมที่มีพื้นที่มากกว่า 5 ตรม. ก็ต้องทำแบบขออนุญาตครับ)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น